ข้อมูลของฉัน

รูปภาพของฉัน
นางสาวสุธิพร ผมปัน รหัสนักศึกษา 51031390186 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กสทช.เปิดเวทีถกทุกฝ่าย หวังฉุดราคา SMS ต่ำกว่า 3บาท




กสทช. เปิดเวทีเสวนาสาธารณะ NBTC Public Forum  ในหัวข้อ ธุรกิจผ่าน SMS … แค่ไหนที่ไม่เอาเปรียบ พร้อมถกค่ายมือถือ-ผู้จัดรายการ หวังหาแนวทางป้องกันผู้บริโภคถูฏเอาเปรียบจากการใช้ พร้อมลดราคาเอสเอ็มเอสต่ำกว่า 3 บาท…
เมื่อวันที่ 22 มี.ค. น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. กล่าวภายในงานเสวนาสาธารณะ NBTC Public Forum  ในหัวข้อ ธุรกิจผ่าน SMS … แค่ไหนที่ไม่เอาเปรียบ ว่า จากนี้จะเรียกผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้จัดรายการที่เปิดให้ส่งข้อความสั้น หรือ เอสเอ็มเอสร่วมรายการมาหารือเพื่อขอความร่วมมือให้ลดราคาค่าบริการเอสเอ็มเอสต่ำกว่า 3 บาท จากเดิมที่เก็บค่าบริการเฉลี่ยครั้งละ 3-6 บาท ซึ่งสูงเกินกว่าอัตราต้นทุนของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ  8-16 เท่า นอกจากนี้ จะเร่งออกประกาศหลักเกณฑ์กสทช. เรื่อง การควบคุมบริการเอสเอ็มเอสให้เสร็จเร็วขึ้นภายใน 1 ปี จากเดิมที่ พ.ร.บ.กสทช.กำหนดให้เสร็จภายใน 2 ปี  เพื่อนำมาใช้ควบคุมบริการเอสเอ็มเอสในทุกรูปแบบ รวมไปถึงการควบคุมเอสเอ็มเอสที่เกี่ยวกับการพนันให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับเทศกาลฟุตบอลยูโรในช่วงเดือน มิ.ย.2555
กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า เนื่องจากตามประกาศว่าด้วยการใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ที่กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแต่ละรายเสนอต้นทุนที่แท้จริง และพบว่า อัตราต้นทุนเอสเอ็มเอสอยู่ที่ไม่เกิน 37 สตางค์ต่อข้อความ ดังนั้น ค่าบริการที่เรียกเก็บในปัจจุบันจึงสูงเกินไป
นายสรยุทธ สุทัศนจินดา ผู้ดำเนินรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ทางช่อง 3 กล่าวว่า พร้อมให้ความร่วมมือกับ กสทช.กำหนดค่าบริการเอสเอ็มเอสที่เหมาะสม หากเห็นว่าค่าบริการที่เรียกเก็บในปัจจุบันสูงเกินไป เพราะการเปิดให้ผู้ชมส่งเอสเอ็มเอสเข้ามาพูดคุยในรายการนั้น เป็นการสื่อสารแบบสองทาง พร้อมกันนี้ ยังมองว่าการเจรจาควรอยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้ประกอบการอยู่รอดได้และประชาชนรับได้ จึงจะเรียกว่าอยู่ในอัตราที่เหมาะสม
น.ส.นันทนี วงศ์อำนิษฐกุล ผู้อำนวกยารฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ทรู วิชั่นส์ เจ้าของรายการเรียลลิตี้ ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย กล่าวว่า ผู้จัดรายการพร้อมลดค่าบริการเอสเอ็มเอส แต่ต้องเป็นอัตราที่ไม่ต่ำมากจนเกินไป เนื่องจากสัดส่วนรายรับจาก บริการเอสเอ็มเอสที่เปิดให้ผู้ชมร่วมโหวต คือ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือได้รับ 50% ส่วน 50% ที่เหลือจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ทางสถานีโทรทัศน์ เจ้าของรายการ และผู้ทำระบบเอสเอ็มเอส ส่งผลให้ผู้จัดไม่ได้มีรายรับจากบริการนี้มากนัก
ทั้งนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแต่ละรายได้ควบคุมค่าใช้จ่ายในระดับหนึ่งแล้ว  โดยกำหนดเพดานค่าบริการที่ 5,000 บาทสำหรับผู้ใช้ระบบรายเดือน หรือ โพสต์เพด ซึ่งทำให้ไม่สามารถทุ่มโหวตได้เป็นหลักแสนบาทอยู่แล้ว แต่หากเป็นการโหวตผ่านระบบเติมเงิน หรือ พรีเพด ถือเป็นความสมัครใจของผู้โหวตเอง ขณะที่ ที่ผ่านมา มีรายได้จากการเปิดโหวตผ่านเอสเอ็มเอสรายการรอบละประมาณ  30 ล้านบาท หรือยอดส่งเอสเอ็มเอสรวม 10 ล้านครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น